วิธีการเล่น
กะโน้ปติงต็องเป็นการเล่นเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว คิดริเริ่มโดย นายเต็น ตระการดี ชาวบ้านโพธิ์กองตำบลไพล (ปัจจุบัน คือ ต.เชื้อเพลิง )อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ การเล่น กะโน้ปติงต็องจะเต้นเป็นคู่ๆ เดิมมีผู้แสดงเพียง ๒ คน เล่นสอดแทรกในวงมโหรีพื้นบ้านของคณะนายเหือน ตรงศูนย์ดี ต่อมาได้มีการส่งเสริมและเล่นกันอย่างแพร่หลาย
ในการเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย เมื่อเริ่มแสดง จะเต้นตามจังหวะเพลงกะโน้ปติงต็องส่ายตัว มือ แขน ขา ไปมา เลียนแบบลีลาของตั๊กแตนตำข้าวตามจังหวะดนตรีและคำร้อง ผู้เล่นจะเปลี่ยนลีลาการตั๊กแตนไปตามจังหวะดนตรี และคำร้องส่วนมากจะใช้บทร้องในแต่ละตอนเป็นช่วงเปลี่ยนท่า เนื้อเพลงหรือบทร้องจะสอดคล้องกับงานนั้นๆ ท่ารำจะมีขั้นตอนจากบทไหว้ครู ท่าตั๊กแตนเช็ดปากหลังกินอาหาร ท่าป้องตาดูเหยื่อ ท่าหยอกล้อกัน ท่าสะกิดกัน เป็นต้น
ดนตรี
ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเต้นกะโน้ปติงต็องใช้วงกะโน้ป ซึ่งประกอบด้วย
๑. กลองโทน (สก็วล) ๒ ใบ
๒. ปี่ไน (ปี่ชลัย) ๑ เลา
๓. ซอด้วง ๑ ตัว
๔. ซออู้ ๑ ตัว
๕. ฉิ่ง ทำนองเพลงใช้ทำนองกะโน้ปติง ต็อง
บทร้องเพลงกะโน้ปติงตองในระยะแรก ๆ ร้องเป็นภาษาเขมร ในระยะหลัง มีการแต่งเนื้อร้องตามงานหรือโอกาสที่ไปแสดง เพื่อให้เข้ากับงานนั้นๆ ใช้เนื้อร้องทั้งภาษาเขมรและภาษาไทยเพื่อให้ฟังง่ายขึ้น
การแต่งกาย
การแต่งกายในการเล่นกะโน้ปติงต็อง ในระยะแรกจะนุ่งโสร่งใส่เสื้อแขนยาวสีขาว ผ้าขาวม้าคาดเอว (เป็นชุดที่ใช้เล่นดนตรีในวงมโหรี) ต่อมาพัฒนาขึ้น โดยแต่งกายเลียนแบบตั๊กแตนตำข้าว ใช้ผ้าสีเขียวตัดเป็นชุดแต่งกาย สวมหัวตั๊กแตน สวมปีกตั๊กแตน ถ้าเป็นตั๊กแตนตัวเมีย จะสวมกระโปรงสั้น ๆ ทับอีกชั้นหนึ่ง
โอกาสที่เล่น
การเล่นกะโน้ปติงต็อง แต่เดิมใช้เล่นแทรกในวงมโหรีพื้นบ้าน ต่อมาในช่วงหลังใช้เล่นได้ทุกโอกาสในงานสนุกสนานรื่นเริง หรืองานเทศกาลต่าง ๆ ทั่วไป
คุณค่า
การเต้นกะโน้ปติงต็องเป็นการเล่นเลียนแบบท่าทาง การเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว ซึ่งมีจังหวะลีลาของเพลงที่สนุกสนานเร้าใจ เป็นการเล่นเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นที่นิยมทั่วไป ทั้งในจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำลีลาการเต้นของสัตว์ (ตั๊กแตนตำข้าว) เลียนแบบออกมาเป็นชุดการแสดง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
ขอขอบคุณhttp://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=14994 เอื้อเฟื้อข้อมูล
รายชื่องานวิจัยวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ผลงานวิจัย คลิกเพื่อเลือก กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย นางอัชราพร สุขทอง, นางพิศเพลิน พรหมเกษ และนางเกษราภรณ์ สุพรรณฝ่าย
ปี 2550 ผลงานวิจัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมา และการสื่อความหมายของการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการเต้น ดนตรี เพลง และการแต่งกาย ในการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์ และ๓) เพื่อจัดทำเอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง“การแสดงกระโน้ปติงต็อง” ในจังหวัดสุรินทร์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องจาก ๒ อำเภอ ประกอบด้วย ๑. อำเภอเมือง ประกอบด้วย นางผ่องศรี ทองหล่อ นางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ นางสุจินต์ ทองหล่อ นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร และนายธงชัย สามสี ๒. อำเภอปราสาท ประกอบด้วย ลูกหลานนายเต็น ตระการดี และนายเหือน ตรงศูนย์ดี ๓ คน นายยัน ยี่สุ่นศรี นายสมพงษ์ สาคเรศ และนำผลการศึกษามาพัฒนาเป็น “รูปแบบการเต้น ดนตรี เพลง และการแต่งกาย ในการแสดงกระโน้ปติงต็อง” เพื่อนำเสนอให้ผู้ให้ข้อมูลทั้ง ๒ อำเภอ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงที่ได้พัฒนา เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงเป็นรูปแบบการเต้น ดนตรี เพลง และการแต่งกาย และเอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นในการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความเป็นมา และการสื่อความหมายของการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์
๑.๑ ความเป็นมาของการแสดงกระโน้ปติงต็อง
การแสดง “กระโน้ปติงต็อง” เป็นการละเล่นที่พัฒนามาจากสัตว์ มีการเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหว และการเกี้ยวพาราสีที่สนุกสนานร่าเริง ของตั๊กแตนตำข้าว เพื่อความสนุกสนานและตลกขบขันในหมู่บ้านการแสดงได้พัฒนาไปสู่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดจนกระทั่งนำไปแสดงหน้าพระที่นั่ง ต่อมาได้ขาดช่วงการแสดง และกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ยุคคือ
ยุคที่ ๑ เริ่มแรกการประดิษฐ์การละเล่นกระโน้ปติงต็อง ( พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๕๐๖ )
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ นายเต็น ตระการดี ได้เดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา โดยขบวนเกวียนสินค้า (เกลือ) ไปค้าขาย แลกเปลี่ยนปราเฮ๊าะ (ปลาร้า) จากประเทศกัมพูชา (เขมร)และในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ตระการดี ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกันและผสมพันธุ์กันอยู่ นายเต็นเฝ้าดูลีลาของตั๊กแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่าถ้านำเอาลีลาการเต้นของตั๊กแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็ดี จึงนำแนวคิดนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี หัวหน้าคณะกันตรึมที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทั้งสองจึงได้ร่วมกันแสดงต่อเนื่องกันมา ต่อมานายยันต์ ยี่สุ่นศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์กอง(ในขณะนั้น) ได้เห็นความสำคัญและมีความชื่นชอบการแสดงกระโน้ปติงต็อง จึงได้เข้ามาร่วมแสดงเป็น ๓ คน โดยมีนายเต็น และนายยันต์ เป็นผู้แสดงเข้าคู่กัน และนายเหือนจะเป็นผู้เป่าปี่สไล มีการด้นกลอนสดเป็นเนื้อร้อง แต่งกายโดยการนุ่งโสร่งและสวมเสื้อเชิ้ตแขนยาว
ยุคที่ ๒ การเผยแพร่โดยนายอำเภอเสนอ มูลศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๔๐)
ในยุคนี้มีนายเสนอ มูลศาสตร์ ซึ่งเป็นนายอำเภอปราสาทในขณะนั้นได้เข้าไปส่งเสริม สนับสนุน นำการแสดงกระโน้ปติงต็อง จากตำบลไพล อำเภอปราสาท ไปสู่การแสดงในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ทำให้กระโน้ปติงต็องเกิดการแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน มีการปรับการแสดงให้เป็นรูปแบบมากขึ้น โดยมีการกำหนดท่าเดินออก ท่าเคารพผู้ชม การแปรแถวต่าง ๆ และมีการออกแบบเสื้อผ้าสำหรับการแสดงกระโน้ปติงต็อง เพื่อให้การแสดงมีความน่าสนใจมากขึ้น
ยุคที่ ๓ ปฏิรูปการศึกษา(พ.ศ. ๒๕๔๐ - ปัจจุบัน)
ในยุคนี้เป็นยุคปฏิรูปการศึกษาสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรมีการจัดการศึกษาในเรื่องของหลักสูตรท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีการวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นบทบาทและภารกิจที่ครูผู้สอนต้องจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น รวมทั้งการทำผลงานเพื่อเพิ่มวิทยฐานะ ก่อให้เกิดกระแสการศึกษาค้นคว้า วิจัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง “กระโน้ปติงต็อง” เป็นการละเล่นและการแสดงหนึ่งที่ได้รับความสนใจและมีการฟื้นฟูอย่างจริงจังในยุคนี้
๑.๒ การสื่อความหมายในการแสดงกระโน้ปติงต็อง
จังหวัดสุรินทร์มีอารยธรรมที่สืบต่อและพัฒนามาเป็นเวลายาวนาน มีขนบธรรมเนียมประเพณี เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน หลากหลายภาษาทั้งภาษาไทย เขมร ส่วย และลาว ในกลุ่มชาติพันธุ์เขมร มีการละเล่นหลากหลาย ซึ่งในเพลงและการละเล่นพื้นบ้านของสุรินทร์ทั้งหมด มีการละเล่นที่พัฒนามาจากสัตว์เป็นครั้งแรก คือมีการเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหว และการเกี้ยวพาราสีที่สนุกสนานร่าเริง ของตั๊กแตนตำข้าว มาเป็นการเต้น“กระโน้ปติงต็อง” เพื่อการละเล่น เพื่อความสนุกสนานและตลกขบขันในหมู่บ้าน ต่อมาเป็นการแสดงที่นิยมแพร่หลาย มีการนำไปแสดงหน้าพระที่นั่ง และในบางช่วงห่างหายขาดการส่งเสริม ความเป็นมาของกระโน้ปติงต็องได้มีการบันทึกและเล่าสืบต่อกันมาหลายกระแส และมีการพัฒนาการสื่อความหมายจากเดิมไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าลักษณะการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้ดังนี้
ยุคที่ ๑ เริ่มแรกการประดิษฐ์การละเล่นกระโน้ปติงต็อง(พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๕๐๖)
เป็นการพัฒนาท่าเต้นมาจากตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกันและผสมพันธุ์กัน การสื่อความหมายจากท่าการเต้น คือการงอมือและยกแขนเหมือนตั๊กแตนตำข้าว และมีการเต้นตามแต่จินตนาการไม่มีรูปแบบตายตัว ไม่ได้เน้นการสื่อความหมายจากท่าเต้นมากนัก เพราะเป็นการประดิษฐ์ท่าทางให้แสดงความสนุกสนาน เน้นตลกขบขัน ซึ่งจะอธิบายความหมายด้วยภาษาร้อง ซึ่งมีการด้นกลอนสดเป็นเนื้อร้องตามความสามารถของผู้ร้องโดยจะแบ่งได้ดังนี้ ๑. การเคลื่อนไหวโลดเต้นไปตามธรรมชาติของตั๊กแตนตำข้าว ๒. อาการร่าเริงสนุกสนาน และเกี้ยวพาราสี ๓. การประดิษฐ์ท่าทางการผสมพันธุ์ให้เกิดความตลกขบขัน
ยุคที่ ๒ การเผยแพร่โดยนายอำเภอเสนอ มูลศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๔๐)
เมื่อมีนักปกครองและหน่วยราชการได้เข้ามาร่วมส่งเสริมและพัฒนา เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอปราสาท ศึกษาธิการอำเภอปราสาท ฯลฯ จึงเกิดการพัฒนาเพื่อให้การแสดงมีความน่าสนใจมากขึ้น และเมื่อมีการนำไปแสดงทั้งในระดับจังหวัด ระดับชาติ โดยเฉพาะการนำไปแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง จึงมีการเพิ่มจำนวนผู้แสดงมากขึ้น และมีการปรับรูปแบบการแสดง โดยมีการกำหนดท่าเดินออก ท่าเคารพผู้ชม มีการแปรเป็นรูปขบวนต่าง ๆ แต่ยังยึดการสื่อความหมายคล้ายในยุคต้นจะแบ่งได้ดังนี้ ๑. การแสดงความเคารพ ๒. การเคลื่อนไหวโลดเต้นไปตามธรรมชาติของตั๊กแตนตำข้าว ๓. อาการร่าเริงสนุกสนาน ๔. การเกี้ยวพาราสีและผสมพันธุ์ระหว่างตัวผู้ตัวเมีย ๕. การประดิษฐ์ท่าทางให้เกิดความตลกขบขัน
ยุคที่ ๓ ปฏิรูปการศึกษา(พ.ศ. ๒๕๔๐ - ปัจจุบัน)
เป็นยุคปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการของการแสดงการสื่อความหมาย ต้องอาศัยหลักวิชาการมากขึ้น เนื่องจากมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ ในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ มีการวิจัยทางการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมมากขึ้น การนำเสนอการสื่อความหมายจากท่าทางตั๊กแตนตำข้าวและการเกี้ยวพาราสีอย่างเดียวมาเป็นเชิงวิชาการ มีการนำเสนอให้สื่อความหมายในทางวิทยาศาสตร์คือวงจรชีวิตของตั๊กแตน ตำข้าว โดยนำทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดทำเอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ซึ่งมีรูปแบบการสื่อความหมายชัดเจนเป็นวงจรชีวิตโดยพอจะแบ่งได้ดังนี้ ๑. การออกสู่เวที ๒. การแสดงความเคารพ ๓. การกำเนิดตั๊กแตนจากไข่ สื่อความหมายของการเกิด ๔. การเคลื่อนไหวร่าเริงในวัยเด็กสู่วัยหนุ่มสาว ๕. การจับเหยื่อและกินอาหารของตั๊กแตน ๖. การต่อสู้เพื่อแย่งชิงคู่ (เป็นการคัดเลือกพันธุ์ที่แข็งแรง) ๗. การเกี้ยวพาราสี ๘. การผสมพันธุ์ ๙. การกัดกินหัวตั๊กแตนตัวผู้ หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ๑๐. การกลับเข้าสู่เวที
๒) รูปแบบการเต้น ดนตรี เพลง และการแต่งกาย ในการแสดงกระโน้ปติงต็อง ในจังหวัดสุรินทร์
ในยุคนี้เป็นยุคปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล ในก่อเกิดการจัดวิจัย หลักสูตรท้องถิ่น หน่วยงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคได้สนับสนุนให้มีการมีการวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการพัฒนาต่อยอดให้เป็นที่ยอมรับในสากล มีการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาประกอบเป็นการบันเทิงที่มีสาระและความรู้มากขึ้นซึ่งยุคนี้ได้ประยุกต์ “วงจรชีวิตของตั๊กแตนตำข้าว” เพื่อพัฒนารูปแบบการเต้น ดนตรี เพลง และการแต่งกาย และนำไปสู่จัดทำเอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และที่สำคัญเป็นการต่อยอดให้องค์ความรู้ท้องถิ่นออกไปสู่สากลได้ โดยมีวิธีการแสดงดังนี้
๑ ลักษณะการจีบ การแสดงกระโน้ปติงต็องจะจีบมือแบบพื้นบ้าน คือการจีบขัดนิ้ว (ตะเปือนได) มีลักษณะจีบแบบหักข้อนิ้วชี้เข้าหาข้อศอก นิ้วที่เหลือกรีดเหยียดตรง
๒ ลักษณะการใช้เท้า การแสดงกระโน้ปติงต็อง จะมีลักษณะการก้าวเท้า ๒ แบบ
๑) การเดินแบบตั๊กแตนเลียนแบบท่าทางของตั๊กแตนตำข้าวให้เหมือนที่สุด คือ การย่อเข่าลงและเตะเท้าออกไปด้านข้าง สลับ ซ้าย – ขวา
๒) การโหย่งขา หมายถึง การทรงตัวด้วยการเขย่งเท้า โดยใช้จมูกเท้าในการรับน้ำหนักตัว ย่อเข่าทั้ง 2 ต่างระดับกัน เข่าข้างหนึ่งจะรับน้ำหนักตัวอีกข้างหนึ่งจะค้ำยันให้การทรงตัวอยู่ได้ ยุบ-ยืดตัวเร็วและขณะเดียวกันมือจะต้องยกสูงขึ้นเพื่อเป็นการช่วยยกน้ำหนักให้ลอยขึ้นจากพื้นด้วย
๓ ลักษณะท่าเต้น เป็นการออกแบบท่าเต้นกระโน้ปติงต็อง เป็นการจำลองจาก“วงจรชีวิตของตั๊กแตนตำข้าว” ประกอบด้วย ๑๐ ท่าคือ ๑. การออกสู่เวที ๒. การแสดงความเคารพ ๓. การกำเนิดตั๊กแตนจากไข่ สื่อความหมายของการเกิด ๔. การเคลื่อนไหวร่าเริงในวัยเด็กสู่วัยหนุ่มสาว ๕. การจับเหยื่อและกินอาหารของตั๊กแตน ๖. การต่อสู้เพื่อแย่งชิงคู่ (เป็นการคัดเลือกพันธุ์ที่แข็งแรง) ๗. การเกี้ยวพาราสี ๘. การผสมพันธุ์ ๙. การกัดกินหัวตั๊กแตนตัวผู้ หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ๑๐. การกลับเข้าสู่เวที
๔ ลักษณะการแต่งกายแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะตามเพศของตั๊กแตนคือ
๔.๑ ตัวเมีย ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑. เป็นชุดรัดรูปสีเขียวตองอ่อนทั้งตัว ส่วนที่ ๒. เสื้อผ้าไหมตรูยแสน์ก แขนกุดแบบสวมด้านหน้า ชายเสื้อด้านหน้าห้อยยาวลงมาถึงช่วงหน้าขาเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านหลังตกแต่งด้วยระบายสีเขียว ส่วนที่ ๓. กรองคอปักด้วยเลื่อมสีทอง ส่วนที่ ๔. ปีกซึ่งมีการพัฒนาให้มีความเหมือนจริงและสวยงามมากยิ่งขึ้น มีลักษณะโปร่งบางซ้อนกัน ๔ ชั้น โดยปีกด้านนอกจะมีสีเขียวเข้มและปีกในอีก ๓ ชั้นก็จะมีสี อ่อนลงไปตามลำดับ สามารถกางหรือหุบปีกได้โดยใช้มือดึงก้านปีกขึ้น ส่วนที่ ๕. หน้ากากซึ่งก็มีการพัฒนาให้มีความเหมือนจริงขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นการใช้สีสันที่เหมือนจริงขึ้นและใช้วัสดุแบบที่ทนทานขึ้นกว่าเดิม และส่วนที่ ๖. ทัดดอกไม้ที่บริเวณบนหูด้านซ้าย
๔.๒ ตัวผู้ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑. เป็นชุดรัดรูปสีเขียวตองอ่อนทั้งตัว ส่วนที่ ๒. เสื้อผ้าไหมตรูยแสน์ก แขนกุดแบบสวมด้านหน้า ชายเสื้อด้านหน้าห้อยยาวลงมาถึงช่วงหน้าขาเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านหลังตกแต่งด้วยผ้าสีเขียวไม่มีระบาย ส่วนที่ ๓. กรองคอปักด้วยเลื่อมสีทอง ส่วนที่ ๔. ปีกซึ่งมีการพัฒนาให้มีความเหมือนจริงและสวยงามมากยิ่งขึ้น มีลักษณะโปร่ง บางซ้อนกัน ๔ ชั้น โดยปีกด้านนอกจะมีสีเขียวเข้มและปีกในอีก ๓ ชั้นก็จะมีสี อ่อนลงไปตามลำดับ สามารถกางหรือหุบปีกได้โดยใช้มือดึงก้านปีกขึ้น และส่วนที่ ๕. หน้ากากซึ่งก็มีการพัฒนาให้มีความเหมือนจริงขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นการใช้สีสันที่เหมือนจริงขึ้นและใช้วัสดุแบบที่ทนทานขึ้นกว่าเดิม
๓) เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง “การแสดงกระโน้ปติงต็อง” ในจังหวัดสุรินทร์
เอกสารประกอบการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ
๑. คู่มือประกอบการเรียนการสอนกระโน้ปติงต็อง ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ ความเป็นมาและการสื่อความหมาย และตอนที่ ๒ การแสดงกระโน้ปติงต็อง
๒. VCD ประกอบการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๙ ขั้นตอนคือ ๑. การออกสู่เวที (ท่าออก) ๒. การแสดงความเคารพ ๓. การกำเนิดตั๊กแตนจากไข่ สื่อความหมายของการเกิด ๔. การเคลื่อนไหวร่าเริงในวัยเด็กสู่วัยหนุ่มสาว ๕. การจับเหยื่อและกินอาหารของตั๊กแตน ๖.การต่อสู้ ๗. การเกี้ยวพาราสี ๘. การผสมพันธุ์ ๙. กัดกินหัวตัวผู้ ๑๐. กลับเข้าสู่เวที
This research and development of Ganoptingtong Dance of Surin Province aimed to 1) study on the background and interpretation of Ganoptingtong Dance of Surin Province, 2) develop the form of dance, music, song and costume of the dance and 3) propose a learning document for local program on “Ganoptingtong Dance”. The methodology of the research composed of collecting of data from related personnel in 2 districts: 1) Muang District, data was collected from Mrs.Pongsri Thonglor, Mrs.Kaenjan Namwat, Mrs.Sujin Thonglor, Mr.Kamonroj Niwatbanharn and Mr.Tongchai Samsi, 2) Prasart District, data was collected from three descendants of Mr.Then Gagarndee and Mr.Huan Trongsoondee, Mr.Yan Yeesoonsri and Mr.Sompong Sakaret. The outcome of the study was applied to developed “The model of dance, music, song and costume for Ganoptingtong Dance”. The model was proposed to related personnel and 30 experts to give some suggestions in order to improve the model and then the developed model of the dance, music, song and costume was included in the learning document for the local program of “Ganoptingtong Dance” of Surin Province.
Research Results
1) The Background of Ganoptingtong Dance
Ganoptingtong Dance was imitated from the life cycle of the mantis. It is a performance for amusement and enjoyment of people in a village, then extends to district and province. It was shown in front of the throne of King and Queen of Thailand. The dance was suspended for a period of time and then returns to interest of people. There are three periods of the dance:
Period 1 The assemble of Ganoptingtong Dance
Around 2480 B.C, Mr.Then Trakarndee went to Cambodia with the salt and fermented fish caravan. He impressively observed the movements of the mantis while courting and mating and wanted to perform the dance to audiences. His idea was transferred to Mr.Huan Trongsoondee, a leader of Rambao Gantruam group, and they collaboratively performed the dance. The dance was observed by Mr.Yan Yeesoondee, a former headmaster of Ban Phothong school and he joined the group as a performer with Mr.Then while Mr.Huan was playing a pipe. The dance was performed with immediate lyric and there was no specific dreses.
Period 2 Contribution of the Dance by Mr.Sanor Moolasart (2506-2540 B.C.)
During this period, the Ganoptingtong Dance from Plai subdistrict was proposed to province and national performance level by Mr.Sanor Mullasart, the former district chief officer of Prasart District. The dance has become famous to present and some improvements of the performance have been done; for example, movement of the performers to the stage, greeting, transforming and designing of costume to make the dance more interesting.
Period 3 Educational Transformation (2540-Present)
According to the Constitution of Thailand, 2540 B.C., the decentralization, the collaboration of people and education, religion and culture are emphasized. In the National Educational Act of 2542 B.C., it is mentioned that local curriculum should be added in the content of education in the aspect of problem condition of community and local wisdom knowledge society. The knowledge of art learning and research based classroom are roles and activities for school teachers to manage in the local curriculum. The stream of research and development of the local wisdom “Ganoptingtong Dance” has become a part of promotion of teacher that help make the entertainment and performance of Ganoptingtong to be interested in and seriously restored in this period of time.
ที่มา : ขอบคุณ http://www.culture.go.th/research/isan/50_6.html เอื้อเฟื้อข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น